ไวล์ดเอดผนึกกำลังผู้นำภาคธุรกิจ 15 ท่านเปิดตัวโครงการ ผู้นำธุรกิจไทยยืนหยัดปกป้องช้าง

ผู้นำธุรกิจไทย ยืนหยัดปกป้องช้าง ให้คำมั่นไม่ซื้อ ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์งาช้าง 

กรุงเทพมหานคร (13 มีนาคม 2560) – องค์กรไวล์ดเอด ช่วยสัตว์ป่า (WildAid) ผนึกกำลังผู้นำภาคธุรกิจไทย 15 ท่าน เปิดตัวโครงการ “ผู้นำธุรกิจไทยยืนหยัดปกป้องช้าง” ในวันช้างไทย ด้วยการลงนามไม่ซื้อ ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากซากสัตว์ป่าผิดกฎหมายและงาช้างรวมทั้งแสดงความมุ่งมั่นที่จะปกป้องสัตว์ป่าของไทย และเรียกร้องให้ภาคธุรกิจแสดงจุดยืนไม่สนับสนุนการค้างาช้าง

วิกฤตการณ์ฆ่าช้างเอางาในทวีปแอฟริกาพุ่งสูงมากถึง 33,000 ตัวต่อปี โดยประเทศไทยเป็น 1 ในปลายทาง และทางผ่านของงาช้างผิดกฎหมายเหล่านี้ที่ถูกลักลอบไปขายในจีน และตลาดอื่นๆ ที่มีความต้องการงาช้าง เพื่อสร้างความตระหนักในเรื่องนี้องค์กรไวล์ดเอด จึงร่วมกับคุณวิลเลียม เอ็ลล์วู๊ด ไฮเน็ค ประธานกรรมการ และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ชักชวนผู้นำธุรกิจ องค์กรดังในไทยลงนามให้คำมั่นเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในการปกป้องช้างและสัตว์ป่า รวมทั้ง แสดงพลังไม่สนับสนุนผลิตภัณฑ์งาช้าง และการค้างาช้าง

“ในฐานะผู้นำธุรกิจผมคิดว่าพวกเราควรจะเป็นแบบอย่างที่ดีในการกระตุ้นให้สังคมรับรู้ถึงวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นกับช้าง รวมทั้งสนับสนุนความมุ่งมั่นของคนไทยในการปกป้องช้าง และสิ่งแวดล้อม เราทุกคนต้องช่วยกันลดความต้องการผลิตภัณฑ์งาช้าง เพราะ หยุดซื้อ คือ หยุดฆ่า” นายไฮเน็คกล่าว

ผู้นำทางธุรกิจทั้ง 15 ท่านที่ลงนามให้คำมั่นในครั้งนี้ คือ

  1. คุณวิลเลียม เอ็ลล์วู๊ด ไฮเน็ค ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)
  2. หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล  อดีต รองนายกรัฐมนตรี
  3. คุณบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ธนาคารกสิกรไทย
  4. คุณบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
  5. คุณชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  6. คุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช นายกสมาคมสร้างสรรค์ไทย (ตาวิเศษ)
  7. คุณเดวิด ไลแมน  ประธานกรรมการ และผู้บริหารสูงสุดด้านวัฒนธรรมองค์กร บริษัท ติลลิกีแอนด์กิบบินส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
  8. คุณฮาราลด์ ลิงค์ ประธานบี.กริม  
  9. คุณกมลา สุโกศล ประธานกรรรมการบริหารกลุ่ม โรงแรมในเครือสุโกศล
  10. นายกีรติ อัสสกุล กรรมการบริษัท โอเชียนกลาส จำกัด (มหาชน)
  11. คุณกิริต ชาห์  ประธานกรรมการจีพี กรุ๊ป 
  12. คุณริชาร์ด เดวิด ฮัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทฮานา
  13. คุณสันติ ภิรมย์ภักดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด 
  14. คุณสุรินทร์ โอสถานุเคราะห์  ประธานกรรมการบริษัท บางกอกรินเวสท์ จำกัด
  15. คุณสุจินต์ หวั่งหลี ประธานกรรมการบริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)

องค์กร ไวล์ดเอด ยังได้เผยแพร่รายชื่อนักธุรกิจต้นแบบกลุ่มแรก 15ท่าน ที่ร่วมลงนามในคำมั่นนี้ บนเวบไซต์ www.ivoryfreethai.org หวังกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือและสนับสนุนในหมู่ภาคธุรกิจ โดยขอเชิญชวนให้ผู้นำองค์กร และคนทั่วไปร่วมกันลงนามในคำมั่นนี้ด้วยกัน เพื่อเป้าหมายสูงสุดคือ การลดความต้องการผลิตภัณฑ์งาช้าง และการยุติการค้างาช้างในประเทศ

 

“ผมเชื่อว่า เมื่อผู้นำธุรกิจและคนไทยได้รับรู้ถึงปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นกับช้าง พวกเขาจะให้การสนับสนุน และปกป้องช้างอย่างเต็มที่แน่นอน” นายไบรอัน อดัมส์ ผู้จัดการโครงการรณรงค์ประจำภูมิภาคเอเชีย องค์กรไวล์ดเอด กล่าว 

ซ้าย-ขวา 1.คุณวารินทร์ สัจเดว,พิธีกร,ผู้ประกาศข่าว 2.จอห์น โรเบิร์ตส์ ผู้อำนวยการมูลนิธิช้างสามเหลี่ยมทองคำ 3.คุณกีรติ อัสสกุล กรรมการบริษัทโอเชียนกลาส จำกัด (มหาชน) 4.คุณวิลเลียม เอ็ลล์วู๊ด ไฮเน็ค, ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนลจำกัด (มหาชน) 5.คุณไบรอัน อดัมส์, ผู้จัดการโครงการรณรงค์ภูมิภาคเอเชีย,ไวล์ดเอด 6.คุณสมเกียรติ สุนทรพิทักษ์กูล ผู้อำนวยการกองกองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา 7.คุณหญิงชดช้อยโสภณพนิช นายกสมาคมสร้างสรรค์ไทย (ตาวิเศษ) 8.คุณเดวิด ไลแมน, ประธานกรรมการและผู้บริหารสูงสุดด้านวัฒนธรรมองค์กรบริษัทติลลิกีแอนด์กิบบินส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 9.คุณแพททริคโบท, ผู้จัดการใหญ่โรงแรมอนันตราสยาม

ช้าง เป็นสัตว์ประจำชาติของไทย การอนุรักษ์และปกป้องช้าง จึงถือเป็นความภาคภูมิใจ และเป็นสิ่งที่ ปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนาน รัฐบาลไทยดำเนินมาตรการหลายอย่าง เพื่อแก้ปัญหาการค้างาช้าง ผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่อง เมื่อปี 2558 ไทยออกพระราชบัญญัติงาช้าง เพื่อควบคุมตลาดค้างาช้าง ถูกกฎหมายที่มาจากช้างบ้านของไทยที่เป็นช้างเอเชียเท่านั้น รัฐบาลยังได้แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 กำหนดให้ช้างแอฟริากันเป็น 1 ในสัตว์คุ้มครอง ของไทย มีผลห้ามการซื้อขายหรือครอบครอง งาช้างแอฟริกัน

แม้อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือไซเตส รวมถึงองค์กรอนุรักษ์ จะชื่นชมความพยายามแก้ปัญหาการค้างาช้างผิดกฎหมายของไทยในช่วงหลายปี ที่ผ่านมา แต่หลายฝ่ายยังกังวลว่า แนวทางแก้ปัญหาของไทยอาจยังไม่เพียงพอ กรณีของฮ่องกงแสดงให้ เห็นแล้วว่า ตลาดการค้างาช้างถูกกฎหมาย เป็นเพียงฉากบังหน้าให้กับการค้างาผิดกฎหมายเท่านั้น แม้รัฐบาลฮ่องกงมั่นใจว่า มีกลไกต่างๆ ที่สามารถควบคุมการค้าได้ 

ในระดับนานาชาติ ที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยอนุสัญญาไซเตสเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2559 มีมติเรียกร้องให้ทุกประเทศดำเนินมาตรการที่จำเป็นเพื่อปิดตลาดค้างาช้างในประเทศของตนอย่างจริงจัง

 “เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลไทยจะพิจารณาเปลี่ยนจุดยืน และเดินหน้าปิดตลาดค้างาช้างในประเทศ ตามอย่างจีน สหรัฐ และฮ่องกงที่ได้ออกมาประกาศก่อนหน้า และดำเนินตามมติการประชุม อนุสัญญาไซเตส” นายอดัมส์กล่าว

 

ลงนามปกป้องช้างด้วยกัน  www.ivoryfreethai.org 

ใส่ความเห็น

Your email address will not be published. Required fields are marked (required)